Episodios

  • พิชิตงานด้วยอิทธิบาทสี่ [6820-7q]
    May 17 2025

    Q: เมื่อหมดไฟจากการทำงานในระบบราชการ เกิดความเบื่อเซ็งควรทำอย่างไร?

    A : การที่เราเบื่อเซ็งแล้วหาทางออกของปัญหา นั่นคือเรามีสติ หลักธรรมที่จะแก้ความเบื่อเซ็งได้คือ “อิทธิบาท4” ให้เราตั้งธรรมเครื่องปรุงแต่งขึ้นมา (งาน) และใช้สมาธิเพื่อเชื่อมธรรมเครื่องปรุงแต่งกับอิทธิบาท 4 เข้าด้วยกัน คือเวลาเราทำงานก็จดจ่อในงาน ตั้งฉันทะไว้ด้วยจิตเป็นสมาธิ เราก็จะมีการคิดพัฒนาปรับปรุงคือวิมังสา แล้วก็ใส่ความเพียรเข้าไปคือวิริยะ เกิดความเอาใจใส่คือจิตตะ โดยให้เริ่มทำจากตรงที่เราทำได้ เช่น ตอนที่เราทานอาหารหรือออกกำลังกาย ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ๆ แล้วจึงฝึกที่หน้างาน คือเมื่อเราอยู่ที่ทำงาน ให้ฝึกสังเกต เมื่อเราสังเกตเห็นอารมณ์นั้น สติก็จะมา เมื่อเรามีสติ จิตก็จะน้อมไปในทางแก้ปัญหา ไม่น้อมไปในทางเบื่อเซ็ง

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    52 m
  • วิธีละสักกายทิฏฐิ [6819-7q]
    May 10 2025
    Q: ความหมายของศีล 8 ในข้อ 7 และ ข้อ 8A: ศีลข้อ 7 คือ เว้นจากดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การตกแต่งร่างกายในฐานะที่จะแต่งให้สวยงาม, ศีลข้อ 8 คือ เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ยัดด้วยนุ่นและสำลี ลักษณะคือเตียงสูง ต้องขึ้นบันได มีเสาสูง Q: ผลกรรมที่ทำผิดศีล 5A: ไม่ว่าจะอดีต อนาคต ปัจจุบัน ศีลก็จะให้ผลเหมือนกัน เพราะธรรมะเป็นอกาลิโก คือไม่เนื่องด้วยกาล ตัวอย่างเช่น คนโกหก ไม่ว่าจะพูดที่ไหนก็จะไม่มีใครเชื่อQ: ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นจะนรกหรือสวรรค์เดียวกันกับผู้ที่นับถือพุทธหรือไม่?A: ไม่ว่าจะเป็นคนที่ไหน ก็ล้วนแต่มี หู ตา จมุก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกัน มีผัสสะ มีตัณหา มีอุปาทานเหมือนกัน ศาสนาพุทธที่ท่านสอนเรื่องนรกสวรรค์ เพราะมีผู้เห็นเปรต เทวดา แล้วมาเล่าให้ท่านฟัง ท่านจึงได้สอน แจกแจง บัญญัติ ซึ่งศาสดาแต่ละท่าน ๆ ก็สอนตามที่ท่านรู้ แต่ในพุทธศาสนานั้น คำสอนมีความบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ทั้งอรรถะและพยัญชนะ เบื้องต้น ท่ามกลาง ืและที่สุด รัดกุมรอบคอบ ไม่หละหลวม ซึ่งคนที่ไม่ใช่สัมมาสัมพุทธะจะทำแบบนี้ไม่ได้ ศาสนาพุทธเท่านั้นที่สอนจนถึงนิพพาน Q: สัดส่วนของความสุขความทุกข์ในนรกและสวรรค์A: นรกและสวรรค์ มีทั้งทุกข์และสุข สวรรค์จะสุขมากกว่าทุกข์ นรกจะมีทุกข์มากกว่าสุข Q: การละสักกายทิฏฐิA: คนที่มีสักกายทิฏฐิ เขาจะเข้าใจว่านี่เป็นตัวตนของเรา พอมีความเพลินพอใจ มีความกำหนัดยินดี เขาก็จะยึดถือในสิ่งนั้นทันที เราจะละสักกายทิฏฐิได้ เราต้องมีสัมมาทิฏฐิ คือเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน พอเราเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นอนัตตา อวิชชาจะดับ วิชชา วิมุตจะเกิดได้ ก็ต้องอาศัยโพชฌงค์ 7 อาศัยสติปัฏฐาน 4 เจริญสติขึ้นมา สักกายทิฏฐิก็จะละไป ปัญญาจะเกิดตรงนี้ Q: ทำสมาธิ พิจารณาร่างกาย แต่ใจเศร้าหมองไม่เบิกบาน แก้ไขอย่างไรดี?A: จะทำวิชชาให้เกิด ก็ต้องทำโพชฌงค์ 7 ให้เกิดก่อน จึงมีการเจริญโพชฌงค์ตามกาลตามสภาวะของจิต โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน เอาสติไว้ตรงกลาง ฝ่ายที่ทำให้จิตฮึกเหิม คือ วิริยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์, ฝ่ายที่ทำให้จิตสงบลง คือ ...
    Más Menos
    57 m
  • ปัจจัยการให้ผลของกรรม [6818-7q]
    May 3 2025

    Q: ครอบครัวเจ็บป่วยบ่อย เป็นเพราะประกอบธุรกิจที่เบียดเบียนสัตว์ใช่หรือไม่และควรทำอย่างไร?

    A: การให้ผลของกรรมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ให้เราเอาศีลเป็นหลักว่า เราได้ทำผิดศีลหรือไม่ ท่านได้กล่าวถึง “อาชีพที่ไม่ควรทำ 5 อย่าง” คือ ค้าอาวุธ ค้าสัตว์เป็น ค้าสัตว์ตาย ค้าสุรา และค้ายาพิษ การค้าหนังสัตว์ก็มีส่วนอยู่ แต่ไม่หนักเท่ากับการฆ่าสัตว์ ให้เราหมั่นทำความดี เข้าใจว่า บุญมีบาปมี มนุษย์มีสุขมีทุกข์ พอๆ กัน สุขทุกข์เกิดจากกรรมเก่าก็ส่วนหนึ่ง เกิดจากดินฟ้าอากาศก็ได้ เกิดจากการเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอก็ได้ ที่สำคัญคือเมื่อเรามีทุกข์ เราต้องหาที่พึ่งที่ถูกต้อง คือ เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เข้าใจว่าทุกข์มีเหตุมีปัจจัย ถ้าเราเข้าใจข้อนี้ ก็ได้ชื่อเป็นผู้มีปัญญา ได้ชื่อว่ามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง


    Q: ถ้าในอดีตได้ฆ่าสัตว์ จะทำอย่างไรกับบาปที่ผิดพลาดนั้น?

    A: ให้เราหมั่นทำความดี ท่านเปรียบไว้กับเกลือ 1 ช้อน ละลายในแก้ว กับเกลือ 1 ช้อน ละลายในแม่น้ำ ผลของความเค็มคือผลของกรรมที่จะเกิดขึ้น หากมีน้ำมาก น้ำเปรียบดังความดี ผลของความเค็มก็จะน้อย หากมีน้ำน้อย ผลของความเค็มก็จะเค็มมาก


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    47 m
  • วิบากกรรม [6817-7q]
    Apr 26 2025

    Q: ใครที่ไม่มีโรคทางใจ?

    A: พระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านไม่มีโรคทางใจ ยาคือมรรค 8 ปฏิบัติตามทางมรรค 8 ทำให้มากเจริญให้มาก เปรียบดังเราต้องการหายจากโรค ถ้าเราทานไม่ครบโดส อาการก็อาจกลับมากำเริบใหม่ได้ แต่หากเราทานยาจนครบโดสแล้วเราก็จะหายจากโรคที่เป็นอยู่ได้ และเมื่อเราหายจากโรคแล้ว (บรรลุพระอรหันต์แล้ว) เราก็ยังต้องรักษาตน ไม่ไปทานของแสลง ให้ทานแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพ คือเมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็ยังต้องปฏิบัติตามมรรค 8 อยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะหมดชีวิตของเรา


    Q: กรรมอะไรที่มาก่อน?

    A: ท่านกล่าวไว้ว่า ผัสสะต่าง ๆ มีใจเป็นที่แล่นไปสู่ ความคิดเป็นสัญญาที่เกิดในช่องทางใจ ใจจึงเป็นใหญ่ แต่ไม่รวมกับมโนสังขาร


    Q: เจตนาของกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม คืออะไร?

    A: สัญญาการปรุงแต่งเกิดจากจิตของเรา เพราะฉะนั้นเจตนาของกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็คือการที่จิตของเรามีการกระทำออกไป


    Q: กรรมอะไรที่ให้ผลทันที?

    A: กรรมจำแนกตามผลได้ 3 ลักษณะ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน กรรมที่ให้ผลในเวลาถัดมา และกรรมที่ให้ผลในเวลาถัดมาและถัดมาอีก


    Q: การทำสมาธิ ต้องนั่งทำเสมอไปหรือไม่?

    A: สามารถทำได้ในทุกอิริยาบถ ทั้งเดิน ยืน นั่ง นอน


    Q: ชาติก่อน ชาติหน้า มีจริงหรือ?

    A: ที่สำคัญคือปัจจุบันนี้ ตอนนี้เราคิดถึงเรื่องที่ผ่านมา คิดถึงเรื่องอนาคต เราก็คิดตอนนี้ เรื่องชาติหน้าเอาไว้ก่อน ให้เราแก้ปัญหาตรงความไม่เที่ยงก่อน เริ่มจากตอนนี้ ตั้งสติขึ้น เห็นตามความเป็นจริง ปฏิบัติให้มาก ทำให้เจริญ เมื่อได้ญาณหยั่งรู้ ค่อยจะยังกันและกัน ให้พอใจได้

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    56 m
  • บาปจากกลลวง [6816-7q]
    Apr 19 2025

    Q: สอบถามช่องทางการรับฟัง

    A: สามารถรับฟังวิทยุทางคลื่น AM 819 KHZ


    Q: ถูกหลอกให้ทำงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยจำใจทำ แบบนี้บาปหรือไม่? เมื่อเทียบกับติตติรชาดก

    A: “ติตติรชาดก” เป็นเรื่องเกี่ยวกับนกกระทาที่นายพรานนำมาขังไว้เพื่อที่ว่า เมื่อมันร้องแล้วเพื่อนของมันที่ได้ยินจะออกมา นกกระทาตัวนั้นไม่ได้มีเจตนาเบียดเบียนหรือประทุษร้าย ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้เพื่อนตัวเองต้องตาย หากแต่เสียใจเพราะนกด้วยกันตาย บาปเกิดขึ้นอยู่แต่น้อย ต่างจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกคนอื่นให้หลงเชื่อ มีเจตนาเบียดเบียนคิดประทุษร้าย ต้องการให้เขาได้ทุกข์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบาป


    Q: มีปิติแล้วทำไมจึงปวดขาอยู่?

    A: ปิติจะมี 2 ส่วนคือทางกายและใจ การที่จะมีปิติทั่วทั้งตัวคือทั้งกายใจได้นั้น เราต้องตริตรึกในเรื่องที่เป็นกุศลธรรม เรียกว่า “วิตกวิจาร” ให้ต่อเนื่อง ผลอานิสงส์คือจะได้ความสุขที่อาศัยปิติ เรียกว่า “นิรมิต” เป็นปิติที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อ เกิดขึ้นในภายใน เป็นปิติสัมโพชฌงค์


    Q: อะไรคือวิตก อะไรคือวิจาร ?

    A: “วิตก” คือ ตริตรึกน้อมจิตไปคิด, “วิจาร” คือ ตรึกตรองลงรายละเอียดลึกลงไป


    Q: พุทโธคือวิตกใช่หรือไม่?

    A : ใช่


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    58 m
  • สมาธิที่เคียงคู่ด้วยสมถะและวิปัสสนา [6815-7q]
    Apr 12 2025

    Q: ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้ม ๆ ลืมคำภาวนา ลืมลมหายใจ

    A : ในการภาวนา หากเราเห็นอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป คือมีสติ หากเราไม่เห็น หรือเห็นเกิดแต่ไม่เห็นดับ นั่นคือเผลอสติ


    Q: ขณะกำหนดจิตบริกรรมพุทโธอยู่ ระหว่างนั้นครูบาอาจารย์ท่านก็พูดสอนอยู่ด้วย เราจะเอาสติไปจับอยู่กับอะไร?

    A: สติตั้งไว้ตรงช่องทางที่เสียงจะเข้ามาคือหู และเอาจิตไว้ที่ “โสตวิญญาณ”


    Q: ถ้าปฏิบัติดี มีศีล สมาธิ ปัญญา มั่นคงแล้ว ถึงที่สุดแห่งทุกข์ (หลุดพ้น) ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอีก ถูกต้องหรือไม่?

    A: ท่านไม่ต้องปฏิบัติเพื่อหวังเอาผล เพราะพ้นได้แล้ว แต่ยังต้องปฏิบัติและรักษาศีล เพื่อดำรงอยู่ เพื่อรักษาสภาวะนี้ เพื่อให้ดำรงอยู่ในมรรค


    Q: เวลาเข้าฌาน 1 แล้วพิจารณากายนี้ ถือว่าเป็นวิตกวิจารณ์หรือไม่ หรือเป็นวิปัสสนาแล้ว?

    A: ในสมาธิ “วิปัสสนา” อยู่ตรงที่เราเห็นความไม่เที่ยง “วิตกวิจาร” เป็นความคิดที่เป็นภาพ คำพูด การพิจารณากายในลักษณะที่เป็นภาพก็เป็นวิตกวิจาร


    Q: มีวิธีอย่างไร ที่จะต่อสู้กับกิเลส ที่เมื่อตื่นนอนขึ้นมาควรลุกทันที แต่ทำไม่ค่อยได้

    A : ก่อนนอนให้ตั้งสติไว้ว่า “รู้สึกตัวเมื่อไหร่ จะลุกขึ้นทันที จะไม่ยินดีในการเคลิ้มหลับ จะไม่ยินดีในการนอน” แล้วน้อมจิตไปเพื่อการนอน ตั้งสติไว้ว่า “บาปอกุศลอย่าตามเราไป ผู้ที่นอนหลับอยู่” ทำเช่นนี้จะเป็นการนอนที่ได้ตั้งสติไว้


    Q: ทุกข์ของพระพุทธเจ้าคืออะไร แล้วทุกข์ที่เราเจอใช่ตัวเดียวกันหรือเปล่า?

    A: ทุกข์ของพระพุทธเจ้า ตอนที่เป็นโพธิสัตว์นั้นเป็นทุกข์เดียวกันกับเรา ตอนที่ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนั้น ท่านทรงพ้นจากทุกข์แล้ว เพราะท่านค้นพบทางพ้นทุกข์ ทุกข์จึงดับไป


    Q: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้ว คน ๆ นั้นจะไปดีหรือเปล่า?

    A: ผู้ที่จะรู้ข้อนี้ได้ต้องมีจุตูปปาตญาณ


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    59 m
  • ความต่างแผ่เมตตากับแผ่บุญ [6814-7q]
    Apr 5 2025

    Q : ขอทราบรายละเอียดคอร์สปฏิบัติธรรม

    A : คอร์สหลีกเร้นปฏิบัติ “ใต้ร่มธรรมกุลเชฎโฐ” ณ วัดภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ วันที่ 6-14 ธ.ค. 68 และ คอร์ส “สมาธิกีฬา” ณ มูลนิธิอาศรมมาตา อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา วันที่ 3-7 พ.ค. 68 (เหมาะสำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติธรรมแล้ว) สามารถสมัครทั้ง 2 คอร์ส ได้ที่แถบเมนู "สมัครปฏิบัติธรรม" https://panya.org


    Q : รับศีลควรรับด้วยคำว่าอะไร?

    A : “สาธุ” แปลว่าดีล่ะ, “สาธุ ๆ” แปลว่าดีแล้ว, หากรับมาปฏิบัติใช้คำว่า “อามะ”


    Q : การเจริญเมตตาจิตทำอย่างไร แตกต่างจากจิตเมตตาหรือไม่?

    A : การที่เราจะเจริญเมตตานั้น เราต้องตั้งจิตไว้กับด้วยเมตตา ท่านให้นึกถึงแม่ที่รักลูก เป็นความรักที่ไม่มีประมาณ ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีขอบเขต แล้วจึงค่อยแผ่เมตตาออกไป ซึ่งคำว่าแผ่เมตตาจิตนั้นคือ “การเจริญภาวนา”


    Q : จะแผ่เมตตาได้ต้องมีสมาธิหรือบุญหรือตั้งจิตก่อนหรือไม่?

    A : ต้องมีสมาธิและตั้งจิตที่ประกอบไว้ด้วยเมตตา ไม่มีประมาณ ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีขอบเขต แล้วค่อยแผ่เมตตาออกไป การแผ่เมตตาไม่ใช่แผ่บุญ การแผ่เมตตา คือการที่เรากำหนดจิตที่ประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปทุกทิศทุกทาง ไม่ว่าผัสสะใดเข้ามา จิตเราก็จะเมตตาไป ไม่ไปตามผัสสะที่เข้ามากระทบ


    Q : การไหว้เชงเม้งกับคำสอนทางพุทธขัดกันหรือไม่?

    A : ท่านกล่าวถึง “ทาน” และ “ยันต์” การนำอาหารไปวางไว้หน้าหลุมศพ เป็นการให้โดยไม่มีผู้รับ เรียกว่าบูชายันต์ ซึ่งท่านไม่ได้ติเตียนยันต์ แต่ท่านจะชี้แจงแจกแจงว่า อันไหนตระเตรียมน้อยกว่าได้บุญมากกว่า มีผลอานิสงส์มากกว่า


    Q : ฤกษ์ยามในความหมายของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร?

    A : ท่านให้เอากุศลธรรมเป็นหลัก ไม่ว่าเมื่อใดเวลาใดก็ตาม ที่ทำแล้วเกิดกุศล เมื่อนั้นคือ “ฤกษ์ดี”

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    57 m
  • หนทางดับอวิชชา [6813-7q]
    Mar 29 2025
    Q: ชาติ-การเกิด มีความหมายอย่างไร?A: “ชาติ” หมายถึง การเกิด “การเกิด” หมายถึง การกำเนิด การเกิดโดยยิ่ง การก้าวลงสู่ครรภ์ ความปรากฏแห่งอายตนะของสัตว์ทั้งหลาย และยังมีการเกิดในบริบทอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับว่า จะกำหนดบริบทอย่างไร ซึ่งชาติคือการเกิดไม่เหมือนการเกิด-ดับ หากเป็นการเกิด-ดับ ท่านใช้คำว่า อุบัติ (เกิด) - นิโรธ (ดับ) ปัญญาเป็นส่วนของมรรค ในขณะที่ชาติคือการเกิดเป็นส่วนของทุกข์ หน้าที่ที่ต้องทำไม่เหมือนกัน ทุกข์ต้องยอมรับ มรรคต้องทำให้เจริญ ความเกิดของปัญญาเราใช้คำว่า “อุบัติ” เป็นการอุบัติแห่งปัญญา เพราะไม่ได้ใช้อายตนะให้มันเกิดขึ้น สิ่งที่เราควรทำความเข้าใจ คือเราจะดับชาติ คือการเกิดได้ ความยึดถือต้องดับ การเกิดจึงจะดับไปด้วย Q: คนประเภทไหนเหมาะในการทำงาน?A: ใช้ทั้งสองกลุ่ม หน้าที่ของผู้นำ คือ ให้ทำงานตามกำลังที่เหมาะสมQ: ปฏิจจสมุปบาทมีกี่รูปแบบ?A ให้เราเข้าใจหลักการคือ “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับ” ใช้หลักการนี้ในการเข้าไปจับกับทุกสิ่ง จะเกิดปัญญาได้Q: ดับอวิชชา ทำอย่างไร?A: เมื่อเห็นความไม่เที่ยง อวิชชาจะดับไป จะเห็นความไม่เที่ยงได้ ต้องอาศัยอนุสติ 10 สติปัฎฐาน 4 โพชฌงค์ 7 พอวิชชาเกิด เห็นความไม่เที่ยง อวิชชาก็จะดับQ: ทำอย่างไรเมื่อไม่รู้ว่าสิ่งนี้มาจากเหตุปัจจัยอะไร?A: พระพุทธเจ้าบัญญัติว่า อวิชชามีอยู่ ซึ่งแต่ก่อนมีพระพุทธเจ้าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอวิชชามีอยู่ เมื่อรู้แล้วค่อยไปทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ให้รู้ขึ้นมา ทำวิชชาให้เกิดด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วอวิชชาจะดับไปQ: บารมี มีกี่อย่าง?A: ตามพุทธพจน์มี 10 บารมี 30 นั้นมาจากคัมภีร์พุทธวงศ์ แต่ทั้งนี้อย่าเพิ่งปฏิเสธควรแยกทำความเข้าใจQ: อโหสิกรรมคืออะไร?A: คำว่า “อโหสิกรรม” ท่านหมายถึงผูกเวร แต่ที่คนไทยเอามาใช้ คำว่า “อโหสิ” คือ กรรมที่ได้ทำไปแล้ว แนวทางที่จะทำให้เราไม่ผูกเวรกับใคร คือให้มีพรหมวิหาร 4 ปฏิบัติตามมรรค 8 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Más Menos
    58 m
adbl_web_global_use_to_activate_T1_webcro805_stickypopup