3 ใต้ร่มโพธิบท Podcast Por ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana arte de portada

3 ใต้ร่มโพธิบท

3 ใต้ร่มโพธิบท

De: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
Escúchala gratis

Acerca de esta escucha

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

2024 panya.org
Ciencias Sociales Filosofía
Episodios
  • ธรรมสมาธิ 5 ประการ [6821-3d]
    May 20 2025
    “ธรรมสมาธิ” คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เป็นธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง และกำจัดความสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดความมั่นสนิทในธรรมแล้ว ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตตามมา ธรรมสมาธิมี 5 ประการ คือ1) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ความร่าเริงสดใส เป็นความชื่นบานใจในธรรม ความร่าเริงสดใสในธรรม เป็นปราโมทย์ที่ไม่อาศัยอามิส2) ปีติ คือความอิ่มใจ ความปลื้มใจ เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติธรรม มี 5 ระดับ คือ ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ และผรณาปีติ 3) ปัสสัทธิ ความสงบระงับภายใน ความสงบเย็นกายเย็นใจ ความผ่อนคลายรื่นสบาย ไม่มีความเดือดร้อนกระวนกระวายใจมารบกวนให้หงุดหงิดรำคาญใจ 4) โสมนัส ความสุข ความสบาย ความรื่นใจไร้ความข้องขัด ปราศจากความทุกข์ร้อนใด ๆ ที่จะมารบกวนขัดขวางให้ไม่อยากปฏิบัติธรรม มีแต่ความสุขสบายกายและใจ ยินดีในการปฏิบัติธรรม5) สมาธิ ความสงบตั้งมั่นของจิต ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่วอกแวก ไม่มีอารมณ์ภายนอกมารบกวนให้หงุดหงิดรำคาญใจธรรมทั้ง 5 ประการนี้ เป็นกระบวนการที่เป็นส่วนสนับสนุนให้บุคคลเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรม มีความแช่มชื่นยินดีในการปฏิบัติธรรมให้เกิดผลสำเร็จ เป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ ธรรมสมาธิ 5 ประการนี้ จะเกิดขึ้นต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ การใคร่ควรโดยแยบคาย ซึ่งมีอยู่หลายแนวทาง ในตอนนี้จะยกเอาแนววิธีการที่ท่านพระอนุรุทธะได้ทำไว้มากล่าว และพระพุทธเจ้าทรงเรียกแนวทางนี้ว่า มหาปุริสวิตก 8 ประการ ได้แก่ธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มักน้อย มิใช่ของผู้มักมากธรรมคำสอนนี้สำหรับของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของผู้ไม่สันโดษธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้สงัด มิใช่ของผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของผู้เกียจคร้านธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืมธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีจิตมั่นคงเป็นสมาธิ ...
    Más Menos
    53 m
  • ตัณหา [6820-3d]
    May 13 2025

    ตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้

    1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสียงผ่านทางหู กลิ่นผ่านทางจมูก รสผ่านทางลิ้น และโผฏฐัพพะผ่านทางกาย และความอยากได้กามคุณคือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า

    2.ภวตัณหา คือ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ความอยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป

    3.วิภวตัณหา คือ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา ความไม่อยากเป็น อยากดับสูญ

    ส่วนตัณหา 108 นั้นมาจากคำว่าตัณหาวิจริตคือความนึกที่แผ่ซ่านด้วยอำนาจของตัณหาคือความเพลินซ่านไปแผ่ไป โดยแผ่ซ่านกระจายไปในขันธ์อันเป็นภายใน 18 อย่าง ขันธ์อันเป็นภายนอกอีก18อย่าง ทั้ง 2 นี้ รวม 36 อย่าง 3 กาลคือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 นั่นเอง




    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    56 m
  • เวทนากับทางไปแห่งจิต 36 ทาง [6819-3d]
    May 6 2025

    เวทนา หมายถึงการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก คือความรู้สึกสุข(โสมนัส) ทุกข์(โทมนัส) หรือเฉยๆ(อุเบกขา)ที่เกิดขึ้นที่กายที่ใจ ในที่นี้จะกล่าวถึงเวทนาคือทางไปของจิต จิตของเรานั้นมักจะมีความยึดถือในสิ่งต่างๆ ในการยึดถือนั้นก็เพื่อจะให้เกิดสุขเวทนา หลีกหนีออกจากทุกขเวทนา กล่าวคือทางที่ไปแห่งจิตของสัตว์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเทวดา พรหม มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน หรือแม้แต่สัตว์นรก ก็เพื่อจะให้เกิดสุขเวทนา หลีกหนีออกจากทุกขเวทนาด้วยกันทั้งสิ้น

    พระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวถึงเวทนาทางไปแห่งจิตของสัตว์ 36 อย่าง ไว้ดังนี้

    เวทนาทางไปแห่งจิตที่เกี่ยวข้องกับเหย้าเรือน คือยังเกี่ยวข้องกับกามคุณอยู่ ได้แก่

    ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือสุขที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือทุกข์ที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือความวางเฉยที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    เวทนาทางไปของจิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหย้าเรือน คือหลีกออกจากกามคุณ ได้แก่

    ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่างคือสุขที่เกิดจากการมีปัญญาพิจารณาเห็น ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่างคือทุกข์เกิดจากการที่เข้าใจ ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และมีความตั้งใจ ขวนขวาย เพื่อที่จะให้มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง แต่ไม่สามารถบรรลุได้ ก็จึงเกิดความเสียใจ ทุกข์ใจ โทมนัส

    อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่าง คือเมื่อมีปัญญาพิจารณาเห็น ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วมีความวางเฉยในปัญญาที่เกิดขึ้นมานั้น

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    57 m
adbl_web_global_use_to_activate_T1_webcro805_stickypopup
Todavía no hay opiniones