Episodios

  • ธรรมะเพื่อครอบครัวที่มั่นคง [6821-1u]
    May 18 2025
    ช่วงไต่ตามทาง: ความรักของหญิงชาย- ชายหญิงคู่หนึ่ง รักกันตั้งแต่สมัยมัธยม เรียนมหาวิทยาลัยคณะเดียวกัน ตั้งใจว่าเรียนจบจะแต่งงานกัน สองครอบครัวดีมาก ทั้งสองคนได้มาปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ หลายครั้ง ทุกปี ความรู้สึกที่มีให้กันเปลี่ยนแปลงไป ความรู้สึกในทางกำหนัดทางกามจืดจางลง ความเพลิดเพลินในเพศตรงข้ามลดลง เปลี่ยนเป็นความรู้สึกแบบเพื่อน พี่น้อง มองกันด้วยความรัก ความเมตตา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่มีเงื่อนไข ทั้งสองคนเห็นตรงกันว่าจะไม่แต่งงานกันช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : ครอบครัวเป็นพื้นฐานแห่งชีวิต- ครอบครัวที่เล็กที่สุด คือ พ่อ แม่ ลูก- ในมงคล 38 ประการ มีเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวถึง 3 ข้อ ได้แก่ การบำรุงบิดามารดา การสงเคราะห์บุตร และการสงเคราะห์คู่ครอง หากทำความเข้าใจและทำตามได้ จะทำให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงและมีความมงคลเกิดขึ้นได้ (1) บำรุงบิดามารดา- มารดาบิดา เป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก เป็นผู้ที่อุปการะบุตรก่อนตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ให้เรารู้คุณนั้นแล้วกระทำต่อ (กตัญญูกตเวที) เช่น ทำบุญอุทิศให้ ช่วยทำกิจธุระ เป็นลูกที่ทำตัวดี ซื้ออาหารที่ชอบให้ทาน - หากมีปมกับพ่อแม่ ให้แก้ด้วยการทำดีต่อพ่อแม่ไปเรื่อยๆ จะทำให้ความไม่ดีค่อยเจือจางลดลงไป ต้องอดทน- ให้ตั้งจิตใหม่ตั้งแต่บัดนี้ ในการที่จะบำรุงยกพ่อแม่ขึ้นเหนือเศียรเหนือเกล้า แล้วลงมือทำ ล้างเท้าบิดามารดาด้วยน้ำอุ่น จะเป็นมงคลในชีวิต(2) สงเคราะห์บุตร- พ่อแม่ มีหน้าที่ ห้ามลูกจากบาป และให้ลูกตั้งอยู่ในความดี- ให้เลี้ยงดูลูกให้ดี อย่าใช้อารมณ์ อย่าโยนหน้าที่นี้ไปให้ครู อย่าตามใจเกินไป อย่าเข้มงวดเกินไป(3) สงเคราะห์คู่ครอง- สามีภรรยา ต้องเกื้อหนุน สงเคราะห์กัน- สามี มีหน้าที่ มอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ ให้อาหาร ให้เครื่องประดับ ยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่ประพฤตินอกใจ- ภรรยา มีหน้าที่ จัดแจงการงานอย่างดี สงเคราะห์คนข้างเคียงดี รักษาทรัพย์ที่มีอยู่ ขยันขันแข็งในหน้าที่ทั้งปวง ไม่ประพฤตินอกใจ- สำหรับคนที่ไม่มีคู่ครอง ไม่มีลูก ยังไงก็มีครอบครัว คือ ตัวเราที่เกิดจากพ่อแม่ ...
    Más Menos
    57 m
  • แก้ทุกข์จากกรรมเก่า [6820-1u]
    May 11 2025
    Q1: กรรมเก่าทำให้เกิดทุกข์A: เหตุปัจจัยเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดสุขทุกข์ มี 8 ประการ สุขภาพ ระบบน้ำดี (ระบบการย่อยอาหาร)สุขภาพ ระบบเสมหะ (ระบบน้ำเหลือง)สุขภาพ ธาตุลมปัญหาสุขภาพทั้งสามอย่างรวมกันฤดูเปลี่ยนแปลงการรักษาตัวไม่สม่ำเสมอการถูกทำร้ายผลของกรรม (กรรมเก่าในอดีต, กรรมที่ทำในปัจจุบัน)หากเชื่อว่าสุขทุกข์เกิดเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น = มิจฉาทิฏฐิความเชื่อว่าทุกข์เป็นเพราะกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว จะทำให้ในปัจจุบันจิตจะน้อมไปในทางที่ไม่ทำอะไรเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นกุศลทิฏฐิที่ถูกต้อง คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นเรื่องธรรมดาของโลก เมื่อเจอสุขหรือทุกข์ สิ่งที่เราต้องทำไม่ต่างกัน คือ ไม่เผลอเพลิน ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า สุขทุกข์นั้นเป็นของไม่เที่ยง และให้อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ Q2: ทุกข์จากกรรมเก่า แก้อย่างไร?A: หากทุกข์นั้นเกิดจากกรรมเก่าจริง ๆ สิ่งที่ต้องทำ คือ อย่าไปอาฆาตแค้นตอบ ให้ทำกาย วาจา ใจ ให้ไปในทางกุศล เช่น สร้างเหตุปัจจัยให้เกิดผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสุข เช่น แผ่เมตตา มีปิยวาจา มีสังคหวัตถุ 4 ให้ทาน แบ่งปัน เอื้อเฟื้อประโยชน์ อีกฝ่ายก็จะมีจิตใจที่นุ่มนวลลง ความสุขก็จะเกิดขึ้น Q3: นั่งสมาธิได้นาน เพราะมีบารมีเก่าสะสมA: การได้สมาธิเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ได้แก่ ศรัทธา ศีล ปัญญา ความเพียรเหตุปัจจัยของแต่ละคน บ้างก็เพราะทำมาจากชาติก่อน บ้างก็ทำเอาในชาตินี้สมาธิ อยู่ในหมวดของมรรคในอริยสัจสี่ ต้องทำให้มี ต้องทำให้เจริญQ4: หน้าตาดี ฐานะดี เพราะบุญเก่าA: ลักษณะคนที่มาสว่าง (เทวดา, พรหม) มาเกิด ก็จะมีผิวพรรณงาม มีวรรณะงาม มีทรัพย์สินเงินทองมาก ลักษณะคนที่มามืด (สัตว์นรก, สัตว์เดรัจฉาน) มาเกิด แนวโน้มจะมีผิวพรรณทราม ตกยาก มีทรัพย์สินเงินทองน้อยอย่างไรก็ตาม ไม่ว่า “มา” สว่างหรือมามืด อยู่ที่ปัจจุบันว่าจะ “ไป” ทางไหน ถ้าทำอกุศลธรรม ก็จะไปมืด ถ้าทำกุศลธรรม ก็จะไปสว่างQ5: ทำบุญอะไร ได้บุญสูงสุดA: บุญ = ความสุข นอกจากการให้ทานแล้ว ก็ยังมีบุญในรูปแบบอื่น เช่น กุศลกรรมบถ 10 = ทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์, ...
    Más Menos
    56 m
  • ปรับจิต เปลี่ยนความคิด [6819-1u]
    May 4 2025
    ลักษณะความคิด- โดยทั่วไปจะเข้าใจว่าร่างกายอาศัยสมองเป็นเครื่องมือในการคิดนึก เพื่อขยับร่างกาย กล้ามเนื้อต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วมีจิตเป็นตัวควบคุมไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยจิตจะใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดนึกสิ่งต่าง ๆ ระดับการควบคุมร่างกาย 3 ระดับ1. ควบคุมได้ = แขน ขา ปาก เว้นแต่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยอื่นก็จะควบคุมไม่ได้ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า2. ควบคุมได้ในเวลาจำกัดจากนั้นจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ = กลั้นหายใจ กลั้นปัสสาวะอุจจาระ กระพริบตา3. ควบคุมไม่ได้เลย = เป็นระบบควบคุมด้วยประสาทแบบอัตโนมัติ (Automatic nervous system) เช่น การเต้นของหัวใจ ไต ระบบทางเดินอาหารจิตควบคุมความคิด- อุปนิสัยของจิตที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ = “อาสวะ” ซึ่งเกิดจากการสะสมการกระทำนั้นมา เช่น คนคิดลบ เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่น่าพอใจ จะเกิดความโกรธ คิดไม่ดี ขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือคนคิดบวก เมื่อได้ยินคนพูดเรื่องทำบุญ จะอนุโมทนา โดยอัตโนมัติ- ความคิดนึกบางอย่างก็มีประโยชน์ ประกอบด้วยกุศล เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และทั้งสองฝ่าย เป็นไปเพื่อความสุขตลอดกาลนาน- แต่ความคิดนึกบางอย่างก็ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นโทษทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่าย เป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน- ดังนั้น จึงต้องพิจารณาไตร่ตรองอยู่เสมอว่าความคิดนั้นเป็นประโยชน์หรือไม่ เพราะจะได้รับผลของสุขทุกข์ต่างกันวิธีปรับจิต- การเพ่งจิตจดจ่อมากยิ่งขึ้น เป็นการตั้งสติ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นสมาธิได้ และการฟังธรรมทำให้เกิดปัญญา - เมื่อสมาธิและปัญญา (สมถะวิปัสสนา) รวมกันเมื่อไร จะเป็นตัวกำจัดอาสวะที่ไม่ดีออกไปทันทีในชั่วพริบตาเดียว สามารถบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน หรือพระอรหันต์ได้ ตัวอย่าง นายกาละ บุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (ไม่ฟังธรรม) นายเขมกะ หลานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (เจ้าชู้) องคุลีมาล (ฆ่าคน)- จิตสามารถฝึกให้มีความคิดไปในทางกุศล ไม่ไปในทางอกุศลได้ ด้วยการเดินตามทางมรรค 8 เริ่มจากการตั้งสติ รู้จักแยกแยะให้เห็นความไม่ดีก่อน จึงจะกำจัดความไม่ดีนั้นได้ จากนั้นก็ฝึกสมถะวิปัสสนา ฟังธรรมอยู่เสมอ น้อมจิตมาทางกุศล ...
    Más Menos
    57 m
  • ธรรมะสำหรับนายจ้างลูกจ้าง [6818-1u]
    Apr 27 2025
    Q1: ธรรมะสำหรับนายจ้างลูกจ้างA: หน้าที่ของนายจ้างต่อลูกจ้าง 5 ประการ1. ให้ทำงานตามกำลัง (ความสามารถ)2. ให้อาหารและรางวัล (ค่าตอบแทน)3. รักษาพยาบาลยามเจ็บไข้4. ให้ของที่มีรสประหลาด (surprise, motivation)5. ปล่อยให้อิสระตามสมัย (ให้ลูกจ้างมีเวลาว่างบ้าง)- หน้าที่ของลูกจ้างต่อนายจ้าง1. ลุกขึ้นทำงานก่อนนายจ้าง2. เลิกงานหลังนายจ้าง3. ถือเอาแต่ของที่นายให้ (ไม่ขโมย)4. ทำงานให้ดีที่สุด - พัฒนาปรับปรุงงานให้ดี ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ดี5. นำเกียรติคุณของนายไปร่ำลือ- อิสรชน = คนที่มีอิสระ เปลี่ยนงานได้ง่าย จะเป็นอิสรชนได้ต้องมีเงินเก็บ จึงต้องรู้จักการจัดสรรเงิน- เศรษฐี = ไม่ต้องทำงานเพื่อเงิน แต่ให้เงินทำงานแทน- มหาเศรษฐี = ให้เงินทำงานแทนมาก ๆ ไม่ต้องทำงานแล้ว- งานใด ๆ ก็ตาม จะสำเร็จได้ ต้องมีอิทธิบาท 4 โดยมี “ตัวงาน” เป็นตัวตั้ง มี “สมาธิ” เป็นตัวเชื่อมกับฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เช่น การใส่ความรัก ความพอใจลงไปในงาน- ถ้าไม่เจริญอิทธิบาท 4 ในงานปัจจุบัน ก็จะเพลินไปตามอารมณ์ความไม่อยากทำ จึงต้องฝึกเจริญอิทธิบาท 4 อยู่เสมอ - เมื่อพัฒนางานปัจจุบันของตนได้ดีแล้ว ก็มีโอกาสที่นายจ้างก็จะเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้ตามความสามารถ ถ้าบริษัทเดิมไม่เห็น บริษัทใหม่ก็จะเห็นความสามารถนั้น หรือไม่เราก็จะเห็นโอกาสใหม่ด้วยตัวของเราเอง Q2: ไม่ชอบให้คนมาบอกบุญA: เหตุแห่งสุขทุกข์ของเรา ควรตั้งไว้ให้ถูกต้องตามธรรม เช่น เราจะมีความสุขเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้ให้ทาน- เมื่อมีคนมาบอกบุญ ต้องรักษาจิตให้ดี ในการกระทำทางกาย วาจา ใจ ถ้าไม่มีเงินทำบุญก็ไม่เป็นไร แต่การกระทำทางวาจา และทางใจควรต่อกระแสบุญนั้นมา เปรียบเหมือนการต่อเทียน ด้วยการอนุโมทนา รักษาใจไม่คิดไม่พอใจ หรือวางเฉย Q3: จุดเทียนต่อจากคนอื่นA: การจุดเทียนต่อกระแสบุญ กระแสบาป เป็นอุปมาอุปไมย กรรมดีกรรมชั่วเกิดจากตัวเรา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะทำอย่างไรต่อ จากกระแสบุญกระแสบาปนั้นQ4: ลบล้างคำสาบานA: การตั้งจิตอธิษฐาน = การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อธิษฐานสร้างเหตุ ไม่ใช่ขอผล- การตั้งจิตอธิษฐานเป็นความยึดถือ ...
    Más Menos
    53 m
  • จิตปรุงแต่งภาพและเสียง [6817-1u]
    Apr 20 2025
    ช่วงไต่ตามทาง: ผู้ฟังท่านนี้ปฏิบัติธรรมแล้วมีอาการได้ยินเสียงในหัวอยู่ตลอด แต่คนอื่นไม่ได้ยิน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่พยายามอยู่กับอาการนี้ให้ได้ โดยปรับกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตใหม่เพื่อรักษาจิต เวลาได้ยินเสียงอะไรก็จะไม่ส่งจิตตามไป ซึ่งควบคุมได้บ้าง ไม่ได้บ้างต้องทำความเข้าใจอริยสัจสี่ เข้าใจเรื่องทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพื่อให้อยู่กับทุกข์ได้ โดยไม่ทุกข์ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : ภาพและเสียงในหัวภาพหรือเสียงที่ผ่านเข้ามาทางตา ทางหู เข้าสู่จิตใจ จิตจะเข้าไปเกลือกกลั้วในอารมณ์นั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ามี "สติ" เป็นเครื่องป้องกันหรือไม่ เสียงในหัวไม่ต่างจากเสียงที่ได้ยินจริง ๆ เช่น คำด่า ถ้าเราโกรธไปตามคำด่านั้น เราจะเป็นบ้า เพราะนั่นเป็นแค่เสียง ความโกรธที่ผู้อื่นหยิบยื่นให้เราผ่านทางคำด่านั้น ถ้าเราไม่รับเอามา ความโกรธก็จะเป็นของเขาอยู่นั่นเอง"ธัมมารมณ์" เกิดจากการปรุงแต่งของจิต อาจเกิดจาก1. การปรุงแต่งที่เป็นญาณทัศนะจริง ๆ 2. การปรุงแต่งของอาสวะกิเลส3. การปรุงแต่งจากสิ่งภายนอกมากระทบภาพหรือเสียงในหัว ที่เกิดเป็นธัมมารมณ์นั้น ต้องแยกแยะให้ได้ว่า เกิดจากการปรุงแต่งของจิตแบบใด ถ้ายังแยกแยะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งตามอารมณ์นั้นไป เพราะอาจเป็นกับดักของมารได้ จะทำให้เป็นบ้าไปตามอำนาจของราคะ โทสะ โมหะได้ เช่น ภาพหรือเสียงในหัวนั้นเป็นธัมมารมณ์ที่เกิดจากกิเลส แต่คิดไปว่าเกิดจากญาณทัศนะ แล้วเชื่อตามนั้น ตามอารมณ์นั้นไป เกิดปัญหาคิดว่าตนรู้วาระจิตผู้อื่น มีเจโตปริยญาณ หรือเข้าใจว่าตนบรรลุธรรมขั้นสูง“สติ” ที่มีกำลัง จะสามารถแยกแยะได้ว่าธัมมารมณ์นั้น เกิดจากการปรุงแต่งของจิตแบบใดเครื่องป้องกันรักษาจิตไม่ให้บ้าไปตามอำนาจราคะ โทสะ โมหะ คือ 1. การรักษาศีล 2. การฝึกสติเกิดผลเป็นสมาธิ ทำให้จิตไม่บ้าไปตามอำนาจราคะ โทสะ โมหะ ชั่วระยะเวลาที่สตินั้นดำรงอยู่ พลังสติเพิ่มขึ้นได้ เช่น ไม่คุยฟุ้ง หลีกเร้น ไม่ยินดีในการหลับใหลแต่ประกอบด้วยธรรมะอันเป็นเครื่องตื่น รู้ประมาณในการบริโภค สำรวมอินทรีย์ กินนอนให้เป็นการภาวนา กาย ...
    Más Menos
    59 m
  • มงคลรับวันสงกรานต์ [6816-1u]
    Apr 13 2025
    Q1: มงคลรับวันสงกรานต์A: ความเป็นมงคลไม่ได้ขึ้นอยู่กับกาลเวลา แต่อยู่ที่การลงมือทำ ทำความดีเมื่อใด ความเป็นมงคลก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น - “พรหมวิหาร 4” เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองจิตใจของเรา เพื่อให้ชีวิตตลอดทั้งปีเป็นไปด้วยความราบรื่น ผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายไปได้ และเป็นหลักธรรมที่ผู้ใหญ่พึงมี Q2: สิ่งที่ไม่ควรพูดA: คำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย ไม่ควรพูด ได้แก่ 1. คำหยาบ 2. คำพูดที่ทำให้คนแตกกัน แม้เป็นความจริงก็ตาม3. คำพูดที่ไม่ก่อให้เกิดกุศลธรรมในจิต = คำพูดที่เกิดประโยชน์ คือ เกิดประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในเวลาต่อมา ประโยชน์ที่สุด (นิพพาน)4. คำพูดที่ไม่ถูกต้องตามกาล = พูดตอนนั้นผู้ฟังอาจจะไม่ชอบ และไม่รับฟัง5. คำพูดนั้นไม่มีที่มา ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไม่มีหลักฐาน6. คำพูดเพ้อเจ้อQ3: การแผ่เมตตาต้องสวดมนต์บทแผ่เมตตาหรือไม่A: หลักสำคัญ คือ การแผ่เมตตาทางใจ- หากตั้งจิตให้แผ่เมตตาได้แล้ว ก็ไม่ต้องมีการกระทำกาย (กรวดน้ำ) หรือวาจา (สวดมนต์) ประกอบก็ได้- แต่ถ้ายังตั้งจิตแผ่เมตตายังไม่ได้ ก็ต้องเริ่มจากการกระทำทางกาย (กรวดน้ำ) และวาจา (บทสวดมนต์) ก่อน แล้วค่อยน้อมจิตใจให้ไปในแนวทางเดียวกันกับกายและวาจานั้นQ4: ญาติเยอะ จะแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลอย่างไรA: เตรียมตัวไว้ก่อน โดยการเขียนรายชื่อญาติทั้งหมดไว้ หรือจะใช้คำว่า “ญาติทั้งหลาย” ก็ได้Q5: วิจิกิจฉา แก้ได้ด้วย “ศรัทธา”A: - ความกังวลใจ เคลือบแคลง ไม่ลงใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า (วิจิกิจฉา) แก้ได้ด้วยการสร้างความมั่นใจ (ศรัทธา)- ศรัทธา = ความมั่นใจในพระพุทธ (การตรัสรู้) พระธรรม (องค์ความรู้ที่ทำให้เกิดการตรัสรู้) พระสงฆ์ (ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธัมโมก็จะได้ผลคือพุทโธเช่นเดียวกัน)Q6: ทางพ้นทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบA: พระพุทธเจ้าทรงหาทางแก้ความทุกข์ด้วยการครองเรือน ระบบการปกครอง การทำทุกรกิริยา แล้วเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์- ทางสายกลาง คือ ทางพ้นทุกข์ คือ มรรค 8 (ศีล สมาธิ ปัญญา) ซึ่งต้องใช้ความเพียร Q7: วิธีอยู่ร่วมกับคนที่ไม่ชอบA: อย่าไปเกลียดเขาตอบ ให้เรามีเมตตาต่อเขา ถ้าเขายังเกลียดเราอยู่ ก็เป็นเวรของเขา- ...
    Más Menos
    56 m
  • เครื่องมือเผชิญหน้ากับการสูญเสียคนรัก [6815-1u]
    Apr 6 2025
    ช่วงไต่ตามทาง: พระเจ้าปเสนทิโกศลสูญเสียพระนางมัลลิกาภรรยาอันเป็นที่รัก- ความเศร้าโศก ความร่ำไร ย่อมเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รักที่น่าพอใจ เมื่อความเศร้าโศก (ลูกศรอาบยาพิษ) ทิ่มแทงกลางอกแล้ว ใครเล่าจะถอนลูกศรนี้ออกได้ จะทำอย่างไรให้จิตใจยังผาสุกอยู่ได้ - คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นยาสมานแผลจากลูกศรนั้นช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:- ลักษณะความสุดโต่งและทางสายกลาง เมื่อสูญเสียคนรัก สุดโต่ง = 1. ร่ำไห้คร่ำครวญ ทุบอกชกตัว งุนงงพร่ำเพ้อ ทานอาหารไม่ลง นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอม การงานอื่น ๆ ไม่ทำ 2. แสดงความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ ให้ปรากฏทางสายกลาง = พิจารณาใคร่ครวญ (โยนิโสมนสิการ) ให้เกิด “ปัญญา” ซึ่งมีเครื่องมือ 3 ประการที่ทำให้เกิดปัญญา เครื่องมือในการเผชิญหน้ากับการสูญเสียคนรัก 3 ประการเครื่องมือที่ 1 พิจารณาฐานสูตร 5 ประการ - ฐานะ 5 ประการ ที่ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่พึงได้ 1. ขอสิ่งที่มีความแก่ ว่าอย่าแก่2. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้ ว่าอย่าเจ็บไข้3. ขอสิ่งที่มีความตาย ว่าอย่าตาย4. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ว่าอย่าได้สิ้นไป5. ขอสิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ว่าอย่าได้เปลี่ยนแปลงไป- ฐานะ 5 ประการนี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เพียงแค่เราเท่านั้นที่ต้องเจอ จึงไม่ควรกังวลใจ เศร้าโศกร่ำไร เครื่องมือที่ 2 พิจารณาอนมตัคคปริยายสูตร - พระพุทธเจ้าแสดงธรรมนี้ให้กับนางปฏาจาราที่ได้สูญเสียคนในครอบครัว 7 คน เกิดความเศร้าโศกมาก นัยว่า น้ำตาที่หลั่งไหลจากการได้พบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ การพลัดพรากจากสิ่งที่น่าพอใจ เฉพาะการตายแบบธรรมชาติ ถ้านับย้อนหลัง 1 กัป นำมานับรวมกันจนปริมาณน้ำตาเท่ากับน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ เวลา 1 กัป ยังไม่สิ้นไปเลย- ความโศกที่เจอวันนี้มันเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับความเศร้าโศกที่เคยเจอมาแล้ว ให้พิจารณาว่า เราต้องการจะทุกข์มากไปกว่านี้หรือไม่ ถ้ายังมีความเกิด ก็ยังต้องพบกับความพลัดพรากอีกต่อ ๆ ไปเป็นธรรมดา ไม่มีที่สิ้นสุด- ความสุข คือ ความทุกข์ที่ทนได้ง่าย สุขอยู่ตรงไหน ทุกข์จะตามมาด้วย ...
    Más Menos
    57 m
  • การวางจิตต่อคำชมและคำด่า [6814-1u]
    Mar 30 2025
    Q1: คนถูกด่าแล้วด่ากลับ เลวกว่าคนด่ามาA: เพราะดูที่กุศลหรืออกุศลที่เกิดขึ้นในจิตใจ คนที่มีความดีอยู่แล้ว เมื่อถูกคนด่า มีความโกรธเกิดขึ้น 1) ความชั่วในทางใจเพิ่มขึ้น 2) ความดีที่ทำอยู่ลดลงหรือหายหมด 3) การด่ากลับไป ทำให้ความชั่วทางวาจาก็เพิ่มขึ้น จึงเห็นได้ว่าจิตใจแย่ลงมากกว่าคนด่ามาลามก = ความเศร้าหมอง ความเสื่อมทรามลงของจิตใจวิธีตอบโต้คนที่ด่า คือ ใช้ความอดทนและปัญญา ไม่ด่าตอบเพราะกลัวบาปมากกว่าเมื่อมีผัสสะมากระทบทำให้ความไม่พอใจเกิดขึ้น จะเป็นเครื่องทดสอบว่าเราจะสามารถดำรงกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในเส้นทางของมรรค 8 ได้หรือไม่วิธีจัดการจิตใจกรณีคำชม - ให้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงกรณีคำด่า - ให้ใช้หลักพรหมวิหาร 4 แผ่เมตตา 3 ขั้นตอน ให้ตนเอง ให้ผู้ด่าเรา และให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย Q2: พระพุทธเจ้ามีกี่พระองค์A: ในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท มีรายนามพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ ในคัมภีร์อรรถกถา มีพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ในคัมภีร์ฝ่ายมหายาน มีพระพุทธเจ้ามากกว่านี้ ในคัมภีร์พุทธวงศ์ จะอธิบายรายละเอียดของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์แต่ทุกคัมภีร์เหมือนกัน คือ พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องมรรค 8ในยุคสมัยหนึ่งจะมีพระพุทธเจ้าได้เพียงพระองค์เดียว จนเมื่อคำสอนและพระธาตุต่างๆ หายไปหมดแล้ว พระพุทธเจ้าอีกพระองค์จึงจะอุบัติขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นคนละกาลเวลากัน ช่วงเวลาที่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากกว่า Q3: พระไตรปิฎกA: พระไตรปิฎก = 45 เล่ม ไม่มีอรรถกถา แบ่งเป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ส่วนอรรถกถา = มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้รวบรวมไว้มี 91 เล่ม ซึ่งรวมพระไตรปิฎกกับอรรถกถาQ4: เปรียญธรรมA: การจัดสอบเปรียญธรรมในคณะสงฆ์ มี 9 ประโยค จัดขึ้นตั้งแต่สมัยพระสมณเจ้า การแบ่งเป็นประโยค ก็เพื่อความชัดเจนในการวัดผลQ5: ปล่อยปลาชนิดไหน ห้ามกินปลาชนิดนั้นA: ไม่มีบัญญัติในคำสอนของพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ฆ่าสัตว์ทุกประเภท ที่มีปราณ มีลมหายใจการปล่อยปลา = มีจิตกรุณาให้เขาพ้นจากความตายเฉพาะหน้าความกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายเป็นเรื่องที่ดี ให้โดยไม่มีประมาณ ไม่มีเงื่อนไข Q6: ...
    Más Menos
    58 m
adbl_web_global_use_to_activate_T1_webcro805_stickypopup